พาโรริงปุง ซอง (Paro Ringpung Dzong) หรือ พาโร ซอง
ก่อนจะไปเล่าประวัติของพาโรริงปุง ซอง (Paro Ringpung Dzong) หรือ พาโร ซอง เราขออธิบายก่อนว่า ซอง (Dzong) คือ?
ก่อนอื่น คงต้องอธิบายคำว่าซอง Dzong เสียก่อน ซอง ในภาษาซองคา แปลว่า วิหารปราการ อดีต ที่ป้องกันศัตรู ที่เข้ามารุกราน นอกจากนี้ซอง ยังมีความสำคัญใน ด้านการบริหารการปกครอง และยังเป็นที่ตั้งของวัดหลักประจำท้องถิ่นในเขตนั้น ๆ
ความสำคัญของซอง ไม่ใช่เพียงสถานที่ ที่รวบรวมของฝ่ายสงฆ์และรัฐเข้าด้วยกันเท่านั้น แต่ยังเป็นป้อมปราการที่สร้างขึ้น เพื่อสมานสังคม ชาติ ศาสนา ให้หล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกัน
ประวัติความมาของพาโรริงปุง ซอง (Paro Ringpung Dzong) หรือ พาโร ซอง
ชื่อเมืองพาโร มาจากตำนานท้องถิ่นว่า มีลามะจากประเทศทิเบต เดินทางมายังพาโร และในมือของลามะถืออาหาร (Pa) มีลักษณะเป็นก้อนทำมาจากแป้งสาลี (Dro) ดังนั้นสถานที่แห่งนี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด ในหุบเขาของภูฏาน ชื่อเมือง แห่งนี้ จึงถูกเรียกว่า Padro แต่คนทั่วไป พูดหรือเขียนว่า Paro
พาโรซอง มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ริงปุงซอง (Rinpung Dzong) หมายถึงป้อมเนินแห่งอัญมณี (fortress on a heap of jewel) เดิมทีบริเวณนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชนเผ่าฮุนเกรล (Hungrel) ซึ่งได้สร้างป้อมปราการเล็กๆ ไว้ในชุมชน ของตน มาตั้งแต่ ศตวรรษ ที่ 15
ต่อมาเมื่อแผ่นดินเป็นปึกแผ่นด้วยฝีมือของท่านซับดรุง งาวัล นัวเกล ชนเผ่าฮุนเดรล จึงยกป้อมปราการแห่งนี้ ให้แก่ท่านซับดรุง ในปีคศ 1645 รินปุง ซอง ได้รับการบูรณะครั้งใหม่ในปีคศ คศ 1646 โดยท่านซับดรุง จนมีขนาดใหญ่โตอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
ในปีคศ 1907 เกิดไฟไหม้ ครั้งใหญ่ ซองถูกทำลายเสียหาย วัตถุโบราณและคัมภีร์ต่างๆ ที่มีค่า ถูกเผา เขาเสียหายทั้งหมด ยกเว้นเพียงภาพทังก้าขนาดใหญ่ หรือ ทงเดรล (Thondreol) ของคูรู รินโปเช เท่านั้นที่ถูกเก็บรักษามาได้จนถึงปัจจุบัน
ในปีต่อมา ซองแห่งนี้ ได้รับการบูรณะ จากแพนล็อป หรือเจ้าผู้ครองนคร (Regional governor) เพนโลปดาวา เปนโจร์ (Penlop dawa Penjor) ที่ปกครองพาโรในสมัยนั้น ได้บูรณะ ตามแผนเดิมทุกประการ จนได้รับการยกย่องว่าเป็นต้นแบบที่ได้มาตรฐานที่สุด ของซองทั้งหมดที่มีอยู่ในภูฏาน
ปัจจุบันนี้พาโร ซอง มีฐานะเป็นศูนย์กลางในการบริหารและการปกครองของเขต ปกครองพาโร ภายในยังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการ กระทรวงต่างๆ รวมถึงอารามหลวงประจำเมือง
โครงสร้าง ของพาโร ซองเป็นสี่เหลี่ยมยกพื้นสูง ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง จึงสามารถมองเห็นทิวทัศน์ด้านล่างได้อย่างชัดเจน จุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ ของรินปุงซอง คือหอคอยตรงกลางลาน หรือ อุตเสะสูง5ชั้น มีหลังคาสีเหลืองซ้อน ลดหลั่นกัน 3 ระดับ ภายในอุตเสะ เป็นที่เก็บรักษาภาพเขียนทังกาโบราณ และโบราณวัตถุล้ำค่ามากมาย
รีวิวพาโรริงปุง ซอง (Paro Ringpung Dzong)
เราเดินทางมาจากเมืองทิมพู เพราะทริปนี้เราไม่ได้เที่ยวที่เมืองพาโรเป็นวันแรก พาโรริงปุง ซอง หรือ พาโรซอง จากด้านนอกนั้นสวยจริง ๆ มี ความใหญ่โตอลังการ โดยปกติแล้วเราจะเที่ยว ป้อมปราการตาซอง (Ta Dzong) ก่อนเพราะ ตา ซองนั้นจะอยู่ด้านบนเหมือนในรูปถัดไป
เมื่อมาถึงเราจะผ่านทางเข้า ตรงนี้จะมีตำรวจตรวจความเรียบร้อยของเครื่องแต่งกาย ถ้าคนภูฏานจะเข้าไปต้องแต่งชุดประจำชาติเท่านั้น ส่วนคนต่างชาติจะต้องแต่งตัวเรียบร้อยเพราะด้านในจะเป็นเหมือนศูนย์ราชการและวัดประจำเมืองพาโร
ภายในพาโรริงปุง ซอง หรือ พาโร ซอง
ภายในพาโรริงปุง ซอง หรือ พาโร ซอง นั้นจะมีอาคารตั้งตรงกลางเหมือนเป็นหอคอยเอาไว้ดูข้าศึกและเอาไว้สื่อสารกับหอคอยที่ตอนนี้เป็น พิพิธภัณท์สถานแห่งชาติภูฏาน หรือ ป้อมปราการตาซอง รอบ ๆ เป็นลานกว้างและล้อมรอบด้วยห้องต่าง ๆ มากมาย
จากนั้นเราต้องเดินลงด้านลางเพื่อมาสักการะวัดประจำป้อมปราการนี้ นักท่องเที่ยวต้องถอดรองเท้าและไม่สามารถถ่ายรูปได้ จากตรงนี้เราสามารถมองลงไปตรงหน้าต่างจะเห็นเมืองพาโรแบบ 180 องศา มีความงดงาม เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวต้องมาถ่ายรูปเก็บไว้
จากนั้นเราก็ออกมาด้านนอกมาถ่ายรูปสวย ๆ วิวปกติที่เราจะพาลูกค้ามาถ่ายทุกครั้ง ตรงนี้เป็นทางเดินลงสบาย ๆ วิวสวย มีจุดถ่ายรูปแยอะมากเพราะถ้ามาไม่ถูกเราจะไม่ได้ถ่ายรูปพาโร ริงปุงซองจากด้านนอก
ทางเดินก็จะเป็นทางเดินที่ชาวเมืองใช้เดินเท้าขึ้นมาไหว้พระหรือมาติดต่อราชการ
ตรงด้านนี้จะเป็นวิวที่ถ่ายรูปซองสวยมากและเราจะเห็นวิวเมืองพาโรอีกด้วย
พอลงมาด้านล่างซองจะมีสะพานข้ามลำน้ำเพื่อข้ามไปยังเมืองพาโร ลูกค้าเราชอบถ่ายรูปตรงนี้มาก ๆ ค่ะ
ออกมาจากสะพานเดินทางขึ้นรถเพื่อไปทานอาหารกลางวันต่อค่ะ จบการรีวิวพาโรซองเพียงเท่านี้ค่ะ